วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎกระทรวง : กฎหมายกำหนดให้มีไว้เพื่ออะไร?

โปรดพิจารณาจากคำพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้...

คดีแดงที่  1347/2505
อัยการจังหวัดสุพรรณบุรี จ.
นางโมย แซ่ฮ้อ จ.ล



พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๑๔, ๓๘ ทวิ
พ.ร.บ.สุรา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๘
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๔, ๖๒



จำเลยขนสุราจากร้านขายส่งไปยังร้านจำเลย ซึ่งอยู่ในอำเภอเดียวกันเป็นปกติ แต่ทางที่ขนไปนั้นต้องผ่านเข้าเขตอีกจังหวัดหนึ่ง เมื่อจำเลยสำคัญผิดว่าผู้รับใบอนุญาตขายสุรามีอำนาจออกใบขนสุราให้ขนสุราไปได้โดยไม่ผิดกฎหมายเช่นนี้ จำเลยย่อมไม่มีเจตนาขนสุราโดยไม่มีใบขนอันถูกต้อง จึงไม่มีความผิด
ประกาศกรมสรรพสามิตที่กำหนดเงื่อนไขแก่ผู้รับใบอนุญาตขายส่งสุรา ในการออกใบขนนั้นมิใช่กฎหมาย เพราะเป็นแต่ระเบียบการที่เจ้าพนักงานกำหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามอำนาจที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น ประกาศนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่ง





…………………..……………………………………………………………..



โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขนสุราจำนวน ๑,๐๐๐ ลิตร ออกจากเขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เข้ามาในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมิได้รับใบอนุญาตขนสุรา ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๑๔, ๓๘ ทวิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๘

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิด เพราะไม่มีเจตนาพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นวา ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามที่ศาลล่างทั้งสองฟังมาว่า จำเลยขนสุราจากร้านขายส่งอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปยังร้านของจำเลยที่ตำบลลาวขวัญ อำเภอเดียวกัน โดยมีใบขนของร้านขายส่งนั้น ซึ่งออกให้โดยอาศัยอำนาจที่อธิบดีอนุญาตให้ร้านขายส่งออกได้ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๑๖ จำเลยเข้าใจว่า ใบอนุญาตนั้นคุ้มครองจำเลยให้ขนได้ตามที่ได้เคยปฏิบัติมาหลายครั้ง รวมทั้งรายอื่น ๆ ไม่มีการจับกุมกัน ศาลฎีกาเห็นว่าเงื่อนไขที่กล่าวถึงในมาตรา ๑๖ นี้เป็นเงื่อนไขที่อธิบดีจะกำหนดแก่ผู้รับใบอนุญาตให้ขายสุราในการที่จะออกใบขนสุรา หาใช่เงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตให้ขายสุราจะกำหนดลงในใบขนไม่ ดังจะเห็นได้จากข้อความในประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตขายสุรา ฯลฯ ออกหนังสือสำคัญสำหรับขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๐๓ การขอผ่อนผันนี้ก็เป็นการที่ผู้รับใบอนุญาตขายสุราต้องกระทำเพื่อมีอำนาจ ออกใบขนผ่านเขตจังหวัดอื่นได้ในกรณีที่ระบุไว้ จึงเป็นเรื่องที่ผู้รับใบอนุญาตขายสุราต้องจัดการเพื่อให้มีอำนาจออกใบขนได้โดยถูกต้องแก่พฤติการณ์ที่ต้องขนสุราผ่านเขตจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่เป็นปกติดังในกรณีนี้ ประกาศกรมสรรพสามิตที่กำหนดเงื่อนไขแก่ผู้รับใบอนุญาตขายส่งสุราในการออกใบขนนี้มิใช่กฎหมาย เพราะเป็นแต่ระเบียบการที่เจ้าพนักงานกำหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามอำนาจที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น ประกาศนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่ง เมื่อจำเลยเข้าใจผิดไปว่าผู้รับใบอนุญาตขายสุรามีอำนาจออกใบขนสุราให้จำเลยขนสุราไปได้โดยไม่ผิดกฎหมายดังที่เคยทำกันมาเป็นปกติ จำเลยก็ไม่มีเจตนากระทำการขนสุราโดยไม่มีใบขนโดยถูกต้อง จำเลยไม่มีความผิดดังฟ้อง

พิพากษายืน ยกฎีกาโจทก์





(จิตติ ติงศภัทิย์ -- บริรักษ์จรรยาวัตร -- พจน์ ปุษปาคม )



ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี - นายบดินทร์ ลุประสงค์

ศาลอุทธรณ์ - นายศรี มลิลา


คดีแดงที่  515/2502
พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์
นายคุณ แซ่กาง จำเลย



พ.ร.บ. เก็บภาษีเครื่องขีดไฟซึ่งทำในพระราชอาณาเขต พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๔, , ,



แม้ขณะจำเลยตั้งโรงงานประกอบเครื่องขีดไฟโดยไม่ได้รับอนุญาต จะยังไม่มีกฎกระทรวงออกใช้ตาม พ.ร.บ. เก็บภาษีเครื่องขีดไฟ ฯ พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ เพราะตาม ม. ๖, ๘ แห่ง พ.ร.บ. นี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงก็เพื่อควบคุมและปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่จะขออนุญาตประกอบเครื่องขีดไฟดังบัญญัติไว้ ในมาตรา ๔ นั้นเลย



…………………..……………………………………………………………..



โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบเครื่องขีดไฟโดยไม่เสนอแผนผังและไม่ได้รับอนุญาตขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. เก็บภาษีเครื่องขีดไฟ ซึ่งทำให้พระราชอาณาเขต พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา๔, ๙.

จำเลยต่อสู้ว่า ไม่รู้ว่ามีกฎหมายนี้และว่าวิธีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้เพิ่งออกกฎกระทรวงเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๙ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยถูกจับแล้ว จำเลยจึงไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ กับว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะจำเลยเลิกโรงงานนี้เกิน ๑ ปีแล้ว ก่อนถูกจับ

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตามชื่อพระราชบัญญัตินี้ระบุชัดแจ้งว่าเป็นกฎหมายออกมาเพื่อเก็บภาษีเครื่องขีดไฟ แต่วิธีการจัดเก็บ วิธีการอนุญาต ตลอดจนตั้งพนักงานวางอัตราค่าธรรมเนียมที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องอาศัยกฎกระทรวงซึ่งจะออกตาม ม. ๖, แต่นับตั้งแต่ พ.ร.บ. นี้ ประกาศใช้แล้ว ๒๔ ปี กฎกระทรวงเพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๘ ธ.ค. ๒๔๙๙ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจับจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเป็นมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ให้แก่รัฐโดยความประสงค์จะตั้งโรงงานประกอบเครื่องขีดไฟ แต่ไม่มีวิธีการเก็บภาษีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ จะเอาโทษแก่จำเลยยังไม่ชอบ พิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนจำเลย

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ขั้นตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทำเครื่องขีดไฟ ไม่จำต้องอาศัยกฎกระทรวงแต่อย่างใด ที่จะต้องอาศัยกฎกระทรวง คือชั้นเก็บภาษี จำเลยจะเอาความไม่รู้กฎหมายนี้อยู่มาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ พิพากษากลับว่า จำเลยผิดตาม พ.ร.บ. เก็บภาษีเครื่องขีดไฟฯ พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๔, ๙ ปรับ ๑,๐๐๐ บาท ไม่ชำระค่าจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ เครื่องขีดไฟสำเร็จของรูปของกลางตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ ๓๒, ๓๓ ให้ริบ ของกลางนอกนั้นคืนจำเลย

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า ตามมาตรา ๖, ๘ แห่ง พ.ร.บ. นี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวง ก็เพื่อควบคุมและปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ หาได้เกี่ยวข้อกับการที่จะขออนุญาติประกอบเครื่องจัดไฟดังบัญญัติในมาตรา ๔ นั้นไม่ ฉะนั้น แม้ขณะจำเลยตั้งโรงงานประกอบเครื่องขีดไฟ โดยไม่ได้รับอนุญาตนี้จะยังไม่มีกฎกระทรวงออกใช้ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไม่ และฟังว่าจำเลยไม่รู้ถึงการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง สมควรลงโทษปรับสถานเบา จังพิพากษาแก้เฉพาะโทษปรับโดยให้ปรับเพียง ๑๐๐ บาท ของกลางคงให้ริบเฉพาะอันดับ ๓๒ ส่วนอันดับที่ ๓๓ ยึดได้จากร้านอื่น ๆ ไม่ริบให้คืนเจ้าของ เพราะโจทก์ขอให้ริบแต่ของกลางที่จับได้จากโรงงานจำเลย



(ดุลยทัณฑ์, พิบูลย์, สุทธิวาท )



ศาลชั้นต้น - นายขาย รัตนวิจิตร

ศาลอุทธรณ์ - นายเชื้อ คงคากุล

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  267/2495
นายทุย จงกระจันทร์
     โจทก์
นายเปรื่อง บุญผดุง
     จำเลย

พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486
กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486
ป.พ.พ. มาตรา 1382
ป.วิ.พ. มาตรา 143, 145, 271

           การขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้นจะต้องผ่านศาลทุกเรื่องและเมื่อศาลมีคำสั่งให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ตามนั้นแล้ว ก็มีกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486 วางวิธีปฏิบัติไว้ในอันที่จะให้เกิดผลตามคำสั่งนั้นโดยรอบคอบ
           ศาลมีคำสั่งให้หอทะเบียนออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ แล้วแก้ทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกนาโฉนดนั้น ถ้าผู้ร้องไม่ได้นำหนังสือสำหรับที่ดินไปแสดงก็จำต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่กล่าวแล้วตามหมวด1ข้อ1(2)คือจะต้องทำการรังวัดใหม่ แล้วออกโฉนดให้ใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกใบแทนโฉนดไปทีเดียวไม่ได้ และการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็หาเป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งศาลที่จะให้ผู้ร้องได้รับกรรมสิทธิ์ในนาแปลงนั้นแต่ประการใดไม่ศาลจึงไม่ควรบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบตามกฎกระทรวง

________________________________


          


( นาถปรีชา - ดุลยการณ์โกวิท - ดุลยทัณฑ์ชนาณัติ )


หมายเหตุ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น